กับข้าวที่จะขาดไม่ได้บน “ขันโตก” (สำรับใส่อาหารของชาวเหนือ) นอกเหนือจาก “แก๋งฮังเล” แล้ว “น้ำพริกอ่อง” ก็จัดว่าเป็นกับข้าวที่วางเคียงคู่กันมา ส่วนผสมที่ช่วยชูรส “น้ำพริกอ่อง” ซึ่งจะขาดไม่ได้คือ “มะเขือส้ม” หรือ “มะเขือเทศสีดา” หรือ “มะเขือเทศผลใหญ่” เพราะนอกจากจะให้รสเปรี้ยวกำลังดีแล้ว ยังให้รสหวานตามธรรมชาติ และวิตามิน เอ. อีกด้วย
เมื่อสมัยเด็ก ๆ ผมเคยนั่งขายมะเขือเทศใน “กาดหมั้ว” มาแล้ว มะเขือเทศเอามาจากแปลงที่คุณแม่เป็นผู้ยกร่อง ปรับหน้าดิน และลงมือปลูกเอง (ส่วนผมรับอาสาเป็นคนรดน้ำทุก ๆ เช้า) บนเนื้อที่สี่คูณสี่เมตร ซึ่งเคยเป็นโรงวัวเก่าหน้าบ้าน หลังจากได้รื้อและย้ายไปปลูกใหม่หลังบ้านแทน
เพียงไม่กี่สัปดาห์ภายหลังจากปลูก ต้นมะเขือเทศของคุณแม่ก็โตวันโตคืน ออกลูกออกหลานดกมากมาย สุกแดงคาต้นจนเก็บกินไม่ทัน คงเพราะปุ๋ยคอก (ขี้วัว) ที่ทับถมมานานในดินที่ยกเป็นแปลงปลูกนั่นเอง คุณแม่เก็บแต่ละครั้งได้มะเขือเทศเป็นกระบุงใหญ่ ๆ ผมจึงอาสาเอาไปขายที่ตลาด ขายกองโต ๆ กองละสลึง วางขายประเดี๋ยวเดียวก็หมดกระบุง ได้เงินเป็นค่าขนมหลายสตางค์
เจ้ามะเขือเทศนี่มีประโยชน์มากหลาย นอกจากจะจิ้มเกลือกินสด ๆ ได้รสอร่อยแล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องมีน้ำมีนวลอีกด้วย
เครื่องปรุง “น้ำพริกอ่อง”
หมูสับ 2 ขีด มะเขือเทศสีดา 30 ลูก พริกแห้ง 6-7 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง1 กำมือ หัวหอม 5 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะ กระเทียมเจียว ต้นหอม-ผักชี ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว และแตงกวา ตามใจชอบ
วิธีปรุง “น้ำพริกอ่อง”
เอาพริกแห้ง 6-7 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือ (แช่น้ำจนนิ่ม บีบให้แห้ง) หัวหอม 5 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้หั่นฝอย 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นนิดหน่อย ใส่ครกลงสากตำให้ละเอียดจนได้ที่ ใส่หมูสับ 2 ขีด มะเขือเทศสีดา 30 ลูกผ่าสี่ ลงในครก ใช้สากบดในครก (ห้ามตำ) จนน้ำพริก-หมูสับ-มะเขือเทศผสมเข้ากันดี
กระทะใส่น้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะ ยกตั้งไฟอ่อน ๆ พอร้อนตักน้ำพริกในครกลงไปผัด จนกระทั่งน้ำแห้งมีกลิ่นหอมฉุยเตะจมูก ใส่รสดี 1 ช้อนโต๊ะ ปรุงรสด้วยน้ำปลา อย่าใส่น้ำตาล เพราะหวานธรรมชาติจากมะเขือเทศอยู่แล้ว (ขณะผัดน้ำพริกเติมน้ำล้างครกลงไปผัดด้วยครั้งละ 1-2 ทัพพี เคี่ยวจนน้ำแห้งจะมีน้ำมันออกมาแทน)
พอเสร็จ ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ต้นหอม-ผักชีหั่นฝอย รับประทานแกล้มกับผักสด เช่น ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว ผักชี และแตงกวา เป็นต้น
น้ำพริกเห็ด
เมื่อสมัยเด็ก ๆ ผมเคยนั่งขายมะเขือเทศใน “กาดหมั้ว” มาแล้ว มะเขือเทศเอามาจากแปลงที่คุณแม่เป็นผู้ยกร่อง ปรับหน้าดิน และลงมือปลูกเอง (ส่วนผมรับอาสาเป็นคนรดน้ำทุก ๆ เช้า) บนเนื้อที่สี่คูณสี่เมตร ซึ่งเคยเป็นโรงวัวเก่าหน้าบ้าน หลังจากได้รื้อและย้ายไปปลูกใหม่หลังบ้านแทน
เพียงไม่กี่สัปดาห์ภายหลังจากปลูก ต้นมะเขือเทศของคุณแม่ก็โตวันโตคืน ออกลูกออกหลานดกมากมาย สุกแดงคาต้นจนเก็บกินไม่ทัน คงเพราะปุ๋ยคอก (ขี้วัว) ที่ทับถมมานานในดินที่ยกเป็นแปลงปลูกนั่นเอง คุณแม่เก็บแต่ละครั้งได้มะเขือเทศเป็นกระบุงใหญ่ ๆ ผมจึงอาสาเอาไปขายที่ตลาด ขายกองโต ๆ กองละสลึง วางขายประเดี๋ยวเดียวก็หมดกระบุง ได้เงินเป็นค่าขนมหลายสตางค์
เจ้ามะเขือเทศนี่มีประโยชน์มากหลาย นอกจากจะจิ้มเกลือกินสด ๆ ได้รสอร่อยแล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องมีน้ำมีนวลอีกด้วย
เครื่องปรุง “น้ำพริกอ่อง”
หมูสับ 2 ขีด มะเขือเทศสีดา 30 ลูก พริกแห้ง 6-7 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง1 กำมือ หัวหอม 5 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะ กระเทียมเจียว ต้นหอม-ผักชี ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว และแตงกวา ตามใจชอบ
วิธีปรุง “น้ำพริกอ่อง”
เอาพริกแห้ง 6-7 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือ (แช่น้ำจนนิ่ม บีบให้แห้ง) หัวหอม 5 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้หั่นฝอย 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นนิดหน่อย ใส่ครกลงสากตำให้ละเอียดจนได้ที่ ใส่หมูสับ 2 ขีด มะเขือเทศสีดา 30 ลูกผ่าสี่ ลงในครก ใช้สากบดในครก (ห้ามตำ) จนน้ำพริก-หมูสับ-มะเขือเทศผสมเข้ากันดี
กระทะใส่น้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะ ยกตั้งไฟอ่อน ๆ พอร้อนตักน้ำพริกในครกลงไปผัด จนกระทั่งน้ำแห้งมีกลิ่นหอมฉุยเตะจมูก ใส่รสดี 1 ช้อนโต๊ะ ปรุงรสด้วยน้ำปลา อย่าใส่น้ำตาล เพราะหวานธรรมชาติจากมะเขือเทศอยู่แล้ว (ขณะผัดน้ำพริกเติมน้ำล้างครกลงไปผัดด้วยครั้งละ 1-2 ทัพพี เคี่ยวจนน้ำแห้งจะมีน้ำมันออกมาแทน)
พอเสร็จ ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ต้นหอม-ผักชีหั่นฝอย รับประทานแกล้มกับผักสด เช่น ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว ผักชี และแตงกวา เป็นต้น
น้ำพริกเห็ด