บ้านต้นตระกูลของพวกเราหรือบ้านของคุณย่า ปลูกอยู่ด้านหลัง “กาดหมั้ว” “กาด” มีความหมายว่า ตลาด “หมั้ว” มีความหมายว่า สลัว หรือ มัว ๆ “กาดหมั้ว” ก็คือตลาดเปิดขายของแต่เช้ามืด เก้าโมงกว่า ๆ ก็เริ่มวาย ส่วน “กาดแลง” คือตลาดเปิดขายของตอนเย็นไปจนถึงพลบค่ำ
สมัยเด็ก ๆ หน้าที่ประจำวันของผม ผมต้องตื่นแต่เช้ามืดไป “จ่ายกาดหมั้ว” แล้วรีบกลับมาทำกับข้าว “กิ๋นข้าวงาย” (มื้อเช้า) แล้ว จึงแต่งตัวไปเรียนหนังสือ พักเที่ยง “กิ๋นข้าวตอน” (มื้อกลางวัน) ที่ห่อมาจากบ้านที่โรงเรียน
ส่วน “ข้าวแลง” (มื้อเย็น) จะกินพร้อมกันหลังจากคุณพ่อกลับจากทำงาน กับข้าวมื้อนี้คุณแม่เป็นผู้แสดงฝีมือเอง เพราะกลับถึงบ้านก่อน (คุณแม่เป็นครูสอนอยู่โรงเรียนใกล้บ้าน) จะมีบ้างเป็นบางครั้งในวันหยุดราชการ คุณพ่อก็เข้าครัวลงมือทำกับข้าวเองเหมือนกัน
เวลาผมไป “จ่ายกาดหมั้ว” ในตอนเช้า ๆ ภาพที่ติดหูติดตาด้วยความซาบซึ้งใจในความรักลูกรักหลานมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นภาพของคุณย่านั่งอุ้มหลานอยู่บนตักของท่านที่ลานซีเมนต์หน้าบ้านตรงข้ามกับทางเข้า “กาดหมั้ว” ด้านหลัง กำลังป้อนข้าวเหนียวกับ “จิ๊นปิ้ง” บ้าง “ตับปิ้ง” บ้าง หรือไม่ก็ “จิ๊นเก็ม” บ้างสลับกันไป ซึ่งก็ซื้อจากกาดหมั้วหน้าบ้านนั่นเอง
“จิ๊นปิ้ง” ขายไม้ละบาทเช่นเดียวกับ “ตับปิ้ง” มีสี่ชิ้นโต ๆ (วิธีทำ แล่เนื้อหมูหรือตับเป็นชิ้น ๆ หมักกับซอสถั่วเหลือง-รสดี-กระเทียมตำพริกไทยเกลือป่นประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเอามาวางรียงบนตับไม้ไผ่บาง ๆ ผ่าซีกสำหรับหนีบ จับมัดหัวกันหลุด ปิ้งบนเตาถ่านไฟรุม ๆ จนสุกได้ที่)
ส่วน “จิ๊นเก็ม” ชิ้นใหญ่พอ ๆ กับจิ๊นปิ้ง ขายชิ้นละสลึง ข้าวเหนียวห่อใหญ่ห่อด้วยใบตอง ขายห่อละสลึงเช่นกัน
เป็นกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า ๆ ที่คุณย่าจะต้องนั่งป้อน “ข้าวงาย” หลานทุก ๆ คนขณะอยู่ในวัยสอนเดิน ซึ่งท่านจะสั่งลูก ๆ ของท่านให้นำหลานมาส่งในตอนเช้า แล้วรับกลับในตอนเย็น จนกระทั่งเดินเก่งนั่นแหละ จึงจะเปลี่ยนเป็นหลานคนอื่น ๆ ต่อไป
เครื่องปรุง “ จิ๊นเก็ม”
เนื้อหมูตรงตะโพก หรือกระดูกซี่โครง หรือตับอย่างใดอย่างหนึ่งครึ่งกิโลกรัม ซอสถั่วเหลือง กระเทียม 1 หัว พริกไทย และเกลือป่น
วิธีปรุง “จิ๊นเก็ม”
เอาเนื้อหมูตรงตะโพกหรือกระดูกซี่โครงหรือตับอย่างใดอย่างหนึ่งครึ่งกิโลกรัม ล้างให้สะอาดแล่เป็นชิ้น ๆ พองาม ใส่หม้อหมักกับซอสถั่วเหลือง 3-4 ช้อนโต๊ะ รสดี 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียม 1 หัวตำกับพริกไทยเกลือป่น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงจนน้ำหมูซึมออกมา ปิดฝาหม้อแล้วยกตั้งไฟอ่อนที่สุดจนกระทั่งเดือดปุดๆ (ห้ามคน) รักษาระดับไฟให้อ่อนคงที่ ปล่อยให้เดือดต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้ำหมูแห้งมีน้ำมันออกมาแทน พอหมูเริ่มไหม้ (มีกลิ่นเหม็นไหม้) จึงคนกลับไปกลับมาจนหมูเหลืองเข้มหอมได้ที่ก็ยกลงจากเตา รับประทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ อร่อยจนลืมทุกข์เชียวแหละ
หรือจะเอาไปเป็นเสบียงเวลาเดินทางไปต่างถิ่นก็สะดวกสบายดี แถมประหยัดอีกต่างหากเหมาะกับเศรษฐกิจยุค “ไอเอ็มเอฟ” ซึ่งเป็นยุคที่ผู้คนต่าง “หน้าดำคร่ำเครียด” และ “ตกงาน” กันเป็นแฟชั่น เพราะบรรดาบริษัทห้างร้านโรงงานต่างทยอยกัน “ปิดกิจการ”
สมัยเด็ก ๆ หน้าที่ประจำวันของผม ผมต้องตื่นแต่เช้ามืดไป “จ่ายกาดหมั้ว” แล้วรีบกลับมาทำกับข้าว “กิ๋นข้าวงาย” (มื้อเช้า) แล้ว จึงแต่งตัวไปเรียนหนังสือ พักเที่ยง “กิ๋นข้าวตอน” (มื้อกลางวัน) ที่ห่อมาจากบ้านที่โรงเรียน
ส่วน “ข้าวแลง” (มื้อเย็น) จะกินพร้อมกันหลังจากคุณพ่อกลับจากทำงาน กับข้าวมื้อนี้คุณแม่เป็นผู้แสดงฝีมือเอง เพราะกลับถึงบ้านก่อน (คุณแม่เป็นครูสอนอยู่โรงเรียนใกล้บ้าน) จะมีบ้างเป็นบางครั้งในวันหยุดราชการ คุณพ่อก็เข้าครัวลงมือทำกับข้าวเองเหมือนกัน
เวลาผมไป “จ่ายกาดหมั้ว” ในตอนเช้า ๆ ภาพที่ติดหูติดตาด้วยความซาบซึ้งใจในความรักลูกรักหลานมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นภาพของคุณย่านั่งอุ้มหลานอยู่บนตักของท่านที่ลานซีเมนต์หน้าบ้านตรงข้ามกับทางเข้า “กาดหมั้ว” ด้านหลัง กำลังป้อนข้าวเหนียวกับ “จิ๊นปิ้ง” บ้าง “ตับปิ้ง” บ้าง หรือไม่ก็ “จิ๊นเก็ม” บ้างสลับกันไป ซึ่งก็ซื้อจากกาดหมั้วหน้าบ้านนั่นเอง
“จิ๊นปิ้ง” ขายไม้ละบาทเช่นเดียวกับ “ตับปิ้ง” มีสี่ชิ้นโต ๆ (วิธีทำ แล่เนื้อหมูหรือตับเป็นชิ้น ๆ หมักกับซอสถั่วเหลือง-รสดี-กระเทียมตำพริกไทยเกลือป่นประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเอามาวางรียงบนตับไม้ไผ่บาง ๆ ผ่าซีกสำหรับหนีบ จับมัดหัวกันหลุด ปิ้งบนเตาถ่านไฟรุม ๆ จนสุกได้ที่)
ส่วน “จิ๊นเก็ม” ชิ้นใหญ่พอ ๆ กับจิ๊นปิ้ง ขายชิ้นละสลึง ข้าวเหนียวห่อใหญ่ห่อด้วยใบตอง ขายห่อละสลึงเช่นกัน
เป็นกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า ๆ ที่คุณย่าจะต้องนั่งป้อน “ข้าวงาย” หลานทุก ๆ คนขณะอยู่ในวัยสอนเดิน ซึ่งท่านจะสั่งลูก ๆ ของท่านให้นำหลานมาส่งในตอนเช้า แล้วรับกลับในตอนเย็น จนกระทั่งเดินเก่งนั่นแหละ จึงจะเปลี่ยนเป็นหลานคนอื่น ๆ ต่อไป
เครื่องปรุง “ จิ๊นเก็ม”
เนื้อหมูตรงตะโพก หรือกระดูกซี่โครง หรือตับอย่างใดอย่างหนึ่งครึ่งกิโลกรัม ซอสถั่วเหลือง กระเทียม 1 หัว พริกไทย และเกลือป่น
วิธีปรุง “จิ๊นเก็ม”
เอาเนื้อหมูตรงตะโพกหรือกระดูกซี่โครงหรือตับอย่างใดอย่างหนึ่งครึ่งกิโลกรัม ล้างให้สะอาดแล่เป็นชิ้น ๆ พองาม ใส่หม้อหมักกับซอสถั่วเหลือง 3-4 ช้อนโต๊ะ รสดี 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียม 1 หัวตำกับพริกไทยเกลือป่น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงจนน้ำหมูซึมออกมา ปิดฝาหม้อแล้วยกตั้งไฟอ่อนที่สุดจนกระทั่งเดือดปุดๆ (ห้ามคน) รักษาระดับไฟให้อ่อนคงที่ ปล่อยให้เดือดต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้ำหมูแห้งมีน้ำมันออกมาแทน พอหมูเริ่มไหม้ (มีกลิ่นเหม็นไหม้) จึงคนกลับไปกลับมาจนหมูเหลืองเข้มหอมได้ที่ก็ยกลงจากเตา รับประทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ อร่อยจนลืมทุกข์เชียวแหละ
หรือจะเอาไปเป็นเสบียงเวลาเดินทางไปต่างถิ่นก็สะดวกสบายดี แถมประหยัดอีกต่างหากเหมาะกับเศรษฐกิจยุค “ไอเอ็มเอฟ” ซึ่งเป็นยุคที่ผู้คนต่าง “หน้าดำคร่ำเครียด” และ “ตกงาน” กันเป็นแฟชั่น เพราะบรรดาบริษัทห้างร้านโรงงานต่างทยอยกัน “ปิดกิจการ”