ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน Welcome to...



วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีครับ...ยินดีต้อนรับทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ...

Welcome…
Welcome...

สวัสดีครับ...
ยินดีต้อนรับทุก ๆ ท่านด้วยความเต็มใจ…

พบกับ สารคดีวิธีทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์...
(กด Shift ค้าง คลิกซ้ายบทความที่เลือก)
*
000 อารัมภบท...อาหารไทยภาคเหนือ
001 เปิดใจ๋...“เฮา...เป๋นลูกหลานจาวเหนียเน้อ...”
002 ประวัติเมือง “หริภุญชัย” และ ตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย
003 ขนมเส้นน้ำเงี้ยว
004 จอผักกาด, อาหารเป็นยา, ปลาทูนึ่ง...สูตรทำรับประทานเอง
005 จิ๊นเก็ม
006 น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกเห็ด
007 น้ำพริกหนุ่ม สูตรหนึ่ง
008 น้ำพริกหนุ่ม สูตรสอง
009 แคบหมู
010 จิ๊นลาบ
011 แก๋งอ่อม
*
*********************************************************************************
ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม และให้กำลังใจผู้จัดทำ...
*********************************************************************************

webเพื่อนบ้าน...



วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

000 อารัมภบท...อาหารไทยภาคเหนือ


“สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ทุ่งไม้ดอกสดสวย ร่ำรวยป่าไม้ งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ”

“ภาคเหนือ” เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต นับเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่ชาวเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้ชาวเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดเป็นของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอด กันมานานแสนนาน

“ภาคเหนือ” เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่

การรับประทานอาหารของชาวภาคเหนือนั้น จะใช้ “โก๊ะข้าว” หรือที่เรียกว่า “ขันโตก” แทนโต๊ะอาหาร โดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารกัน “โก๊ะข้าว” หรือ “ขันโตก”จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบน “โก๊ะข้าว” หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน

การเก็บอาหารที่เหลือเพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุงแล้วผูกเชือกแขวนไว้ในห้องครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในห้องครัวของทุก ๆ บ้านในภาคเหนือ จึงมีราวไม้สำหรับแขวนหัวหอมและกระเทียมเหมือน ๆ กัน

ชาวภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และตามลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงนูน จีกุ่ง (จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง) ไก่ หมู เนื้อวัวและเนื้อควาย อาหารของชาวภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม (มะเขือเทศ) เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ “ต๋ำขนุน” เมื่อตำเสร็จก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับมาจากแม่น้ำลำคลอง

อาหารภาคเหนือรสชาติจะออกไปทางเค็มกับเผ็ด แต่ไม่เผ็ดจัด รสหวานไม่นิยมกัน หากจะมีความหวานในอาหารบ้าง ก็จะได้มาจากเครื่องปรุงในอาหารนั้น ๆ ไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะนิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร อาหารส่วนใหญ่จะผัดด้วยน้ำมัน เครื่องจิ้มก็จะเป็นน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่ ผักที่ใช้จิ้มส่วนใหญ่จะเป็นผักนึ่ง

อาหารที่ชาวภาคเหนือนิยมใช้กินกับแกล้ม หรือกินเคียงกับอาหารอย่างอื่น ๆ มีดังนี้

“หนังปอง” คือการนำหนังควายมาเผาไฟ แช่น้ำแล้วขูดเอาส่วนที่ดำ ๆ ออก ตัดส่วนที่แข็งทิ้ง และตากแดดให้แห้ง แล้วนำแผ่นหนังนี้ไปปิ้งไฟพอให้อ่อนตัว ใช้มีดตัดเป็นเส้น ๆ แต่ไม่ให้ขาดจากกัน นำไปต้ม 3 วัน 3 คืน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนแผ่นหนังมีสีเหลือง ๆ ซึ่งจะเก็บไว้รับประทานได้นานวัน เมื่อจะรับประทาน จึงนำมาทอดไฟกลาง ๆ หนังจึงจะพองตัวและกรอบกรุบ ๆ คล้ายกับ “แคบหมู” แต่ถ้าหากไฟแรงหนังจะไหม้ ถ้าไฟอ่อนหนังก็จะไม่พองตัว

“น้ำหนัง” คือเอาหนังควายเผาไฟจนไหม้ดำ นำไปแช่น้ำในโอ่ง แล้วขูดส่วนที่ไหม้ออก นำไปต้มในปี๊บโดยขัดแตะปากปี๊บไว้ เพื่อหนังจะได้ไม่ลอยขึ้นมา ต้มไปจนหนังละลายเป็นน้ำข้น ๆ ก็ยกลง แล้วกรองด้วยกระชอนไม้ไผ่ จากนั้นนำไปละเลงบาง ๆ บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนละเลงก็ได้นำไปผึ่งในร่ม พอแห้งก็ลอกเก็บ รับประทานกับแกงต่าง ๆ โดยนำ “น้ำหนัง” ไปปิ้งไฟอ่อน ๆ ก่อน

“แคบหมู” นำหนังหมูมากรีดมันออกเพื่อให้เหลือติดนิดหน่อย แล้วเคล้ากับเกลือ และผึ่งแดดให้น้ำมันแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปเคี่ยวกับน้ำมันในกระทะ พอหนังพองเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วก็เอาไปทอดในน้ำมันที่ร้อนจัด พอหนังหมูพองตัวเท่ากันและออกสีเหลืองเข้มก็ตักขึ้นจากกระทะ

“ไข่มดส้ม” คือการเอาไข่มดแดงไปดองกับเกลือ แล้วจึงนำมายำหรือแกง การดอง “ไข่มดส้ม” จะดองโดยใช้ไข่มดแดง 1 ถ้วย ดองกับเกลือ 2 ช้อนชา

เครื่องปรุงรสในอาหารภาคเหนือ

“ปลาร้า” คือการหมักปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลากระดี่ เป็นต้น โดยหมักกับเกลือในไหใบเล็ก ๆ จนกระทั่งเป็นปลาร้า ซึ่งใช้ใส่ในอาหารหลายอย่าง

“น้ำปู๋” คือการเอาปูนาตัวเล็ก ๆ มาโขลก แล้วนำไปเคี่ยวไฟอ่อน ๆ สักพัก แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ และเคี่ยวต่อไปจนข้น “น้ำปู๋” จะมีสีดำ มีความข้นพอ ๆ กับกะปิ การเก็บจะบรรจุใส่ขวดหรือกล่องใบเล็ก ๆ แต่ปากกว้าง “น้ำปู๋” เก็บไว้ได้เป็นเดือน ๆ โดยไม่เสียหรือบูดเน่า

“ถั่วเน่าแผ่น” (ถั่วเน่าแค่บ) คือถั่วเหลืองต้มแล้วนำไปหมักกับเกลือจนนุ่ม จากนั้นนำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ๆ ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ

“ถั่วเน่าเมอะ” คือถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือ แล้วห่อใบตองให้มีกลิ่น ใช้ทำน้ำพริก ใช้ผัด หรือปิ้งรับประทานกับข้าว

“มะแขว่น” เป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่งของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพวงติดกัน เม็ดกลม มีเปลือกสีน้ำตาลเข้ม เปลือกจะอ้าเห็นเม็ดข้างในสีดำกลม มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย

“มะแหลบ” ลักษณะเม็ดแบน ๆ มีกลิ่นหอมอ่อนกว่ามะแขว่น ทางภาคเหนือจะมีเครื่องเทศ คือ “มะแขว่น” และ “มะแหลบ” เพียงสองอย่างเท่านั้น

ผักและเครื่องเทศทางภาคเหนือ ส่วนมากจะเป็นผักเฉพาะถิ่น ผักบางชนิดจะคล้ายกับผักทางภาคอีสาน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น

“ผักขี้หูด” ลักษณะของผักจะเป็นฝัก และขึ้นเป็นช่อ ๆ ซึ่งฝักจะเล็กแค่ครึ่งเซนติเมตร ยาว 7-8 เซนติเมตร ดอกสีม่วงสวย กินสดโดยจิ้มกับน้ำพริกหนุ่ม ต้มหรือนึ่งกินกับน้ำพริกอ่อง ผักขี้หูดเป็นผักฤดูหนาว ใบคล้ายใบผักกาด จะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นฝัก รสเผ็ดเล็กน้อย แต่ถ้าต้มสุกแล้วจะหวาน

“ผักกาดตอง” ใบคล้ายใบพลู แต่ใบสั้นกว่า สีเขียวออกขาว กลิ่นหอมฉุน ใช้กินกับจิ๊นลาบ

“หอมด่วน” คือใบสะระแหน่ ใช้รับประทานกับจิ๊นลาบ และต๋ำมะเขือ

“หอมป้อม” คือผักชี อาหารภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมโรยด้วยผักชีหั่นฝอย

“ยี่หร่า” ลักษณะใบเป็นฝอย สีเขียวเข้ม ใช้จิ้มน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง และใส่แกงต่าง ๆ

“หยวกกล้วย” จะใช้หยวกกล้วยป่า โดยใช้แกนในมาทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก

“บ่าค้อนก้อม” คือมะรุม ใช้แกงส้ม

“บ่าริดไม้” คือฝักลิ้นหมา ลักษณะเป็นฝักสีเขียวขี้ม้า ยาวประมาณ 10-15 นิ้ว ฝักจะมีลักษณะแบน กว้าง 3 นิ้ว ต้มให้นุ่มใช้จิ้มน้ำพริก และมีรสขมเป็นยาระบาย

“บ่าหนุน” คือขนุนอ่อน โดยเด็ดเอาขนุนที่ออกลูกมากเกินไป และจำเป็นต้องเด็ดออกเสียบ้าง เพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกันมากนัก ขนุนอ่อนนี้ใช้ทำแกง หรือตำ หรือต้มจิ้มน้ำพริกก็ได้

“ดอกงิ้ว” คือดอกนุ่นพันธุ์พื้นเมือง

“พริกหนุ่ม” เป็นพริกทางเหนือ มีลักษณะยาวเรียว พริกหนุ่มสดจะมีสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอมและไม่ฉุน

“ดอกลิงแลว” เป็นดอกเล็ก ๆ สีม่วง มีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ที่เพิ่งแตกดอก คือเป็นปุ่มเล็ก ๆ ปลายดอกเรียว โคนใหญ่ ตัวดอกนุ่ม ลักษณะใบจะยาวคล้ายใบหมาก มีรสหวาน ใช้ทำแกงแค หรือแกงเลียง

“ตูน” คือคูน ต้นคล้ายต้นบอน แต่เปลือกสีเขียวนวล ไม่คันเมื่อมือถูกยางตูน เนื้อตูนสีขาว เนื้อฟ่าม กินสดได้ โดยกินกับตำส้ม (ส้มตำนั่นแหละ) ตำส้มโอ และตำมะม่วง

“ผักหละ” คือชะอม กินได้ทั้งสดและทำให้สุก นิยมกินกับตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือใส่แกง เช่น แกงแค เป็นต้น

“ผักหนอก” คือใบบัวบก กินสดกับน้ำพริก หรือกินแกล้มกับยำต่าง ๆ

“หัวปี๋” คือหัวปลี กินได้ทั้งสดและทำให้สุก กินสด เช่น จิ้มกับน้ำพริกอ่อง ทำสุก เช่น ใช้แกงกับปลาย่าง ต้มสุกจิ้มน้ำพริก ปลีกล้วยที่นิยมกินกัน คือ ปลีกล้วยน้ำว้า กับปลีกล้วยป่า

“ดอกแก” คือดอกแค ที่นิยมกินกันมีสองสี คือแคขาว กับแคแดง ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก สำหรับยอดแคก็กินได้เช่นกัน

“หน่อไม้ไร่” มีลักษณะเล็กยาว มีรสขื่นและขม นิยมเอามาทำเป็นหน่อไม้ปีบ นอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังทำให้รสขื่นและขมของหน่อไม้คลายลงได้ด้วย ใช้จิ้มน้ำพริก ยำ และผัด

“มะเขือส้ม” คือมะเขือลูกเล็ก ๆ ที่ติดกันเป็นพวงคล้ายมะเขือพวง มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ

“ผักปู่ย่า” เป็นผักที่ขึ้นในป่า มีลักษณะเป็นพุ่มดอกสีเขียวอมชมพูน้ำตาล และมีหนาม ถ้าหากดอกสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยว นิยมเอามาทำยำ นอกจาก “ผักปู่ย่า” แล้ว ยังมีผักอื่น ๆ ที่ขึ้นตามป่าแล้วนำมาปรุงอาหารหรือใช้เป็นผักจิ้มอีกหลายชนิด เช่น “ผักสลิด” จะมีรสขม “ผักห้วนหมู” จะมีใบใหญ่และสีเขียวเข้ม มีรสขม “ผักก้านถึง” ใบเล็ก ๆ แหลม ๆ มีรสหวาน เวลาเด็ดจากต้นส่วนมากจะเด็ดแต่ยอดอ่อน ๆ เท่านั้น

นอกจากผักป่าแล้ว ยังมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่เกิดตามป่า และจะเก็บมารับประทาน เช่น “เห็ดแดง” “เห็ดเผาะ” (เห็ดถอบ) “เห็ดหูหนูลัวะ” (เห็ดหูหนู) เป็นต้น

สารคดีวิธีทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์ เริ่มตั้งแต่บทความ 000 ถึงบทความ 057

วิธีทำน้ำผลไม้ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่บทความ 01 ถึงบทความ 52

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม และกรุณาคลิกโฆษณาให้กำลังใจผู้จัดทำ...

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

51น้ำลิ้นจี่ 52น้ำบ๊วย



49น้ำมังคุด 50น้ำผลไม้รวม



47น้ำเงาะ 48น้ำผักตำลึง



44น้ำชมพู่ 45น้ำส้มโอ 46น้ำกระท้อน



41น้ำมะพร้าวอ่อนปั่น 42น้ำมะพร้าวอ่อน 43น้ำสตรอเบอรี่



38น้ำส้มเขียวหวาน 39น้ำกล้วยหอม 40น้ำองุ่น



35น้ำเชื่อม 36น้ำลำไยสดปั่น 37น้ำลำไยแห้ง



32น้ำมะกอก 33น้ำลูกพรุน 34น้ำมะปราง



29น้ำส้มจี๊ด 30น้ำมะเฟือง 31น้ำละมุด



26น้ำลูกเดือย 27น้ำอินทผลัม 28น้ำขึ้นฉ่าย



23น้ำแอปเปิ้ล 24น้ำรากบัวหลวง 25น้ำตะลิงปลิง



20น้ำมะม่วง 21น้ำแคนตาลูป 22น้ำมะละกอ



17น้ำเก๊กฮวย 18น้ำฝรั่ง 19น้ำชะเอม



15น้ำมะตูม 16นมถั่วเหลือง



13น้ำใบเตย 14น้ำมะยม



ไฟล์ที่ต้องการโหลดอยู่ที่นี่...


สรรหาไฟล์ดีดีหายากมาแบ่งปันกัน

กรุณาคลิกโฆษณาด้านขวามือ...
เพื่อให้กำลังใจคณะผู้จัดทำwebนี้...
(คลิกขวาข้อความตัวสีน้ำเงิน
แล้วคลิกซ้าย Open in New Tab
หรือคลิกซ้าย Open in New Window
จากนั้นเชิญโหลดไฟล์ที่ต้องการ)
ขอขอบคุณที่คลิกเพื่อให้กำลังใจ...
“อันว่าความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
เป็นสิ่งดีสองชั้นพลันปลื้มใจ
แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล...”
และขอขอบคุณเจ้าของลิ้งค์ทุกๆท่าน...

เชิญเลือกโหลดไฟล์ได้ตามสบาย...

(โหลดไฟล์คลิกซ้ายตามปรกติครับ)

คลิปแถลงข่าว นปช.จัดชุมนุม 25 เม.ย.2552 ที่สนามหลวง
ภาพ
เสียง
คลิปแถลงข่าวของ 3 เกลอ วันที่ 28 เม.ย. 2552
ภาพ
เสียง

ตีสิบ28-04-2552 น้องดรีมร้องเพลง-เข็มเล่านิทานลิงกับลา เปรียบเทียบซะเห็นภาพ...
ลิงเปรียบเหมือนคนที่ฉลาดแกมโกง พูดมาก พีเซ้นเก่ง ขี้ฟ้อง อ้างอิงตำราสารพัด แต่ไม่เคยทำงานจริง น้องเข็มเธอเปรียบเทียบซะเห็นภาพ...
วุ้ย! เหมือนพรรคแมงสาปเดี๊ยะ...
http://www.mediafire.com/download.php?imjzjj4wj4y
สำรอง

นายกฯทักษิณโฟนอินถึงมวลมหาประชาชนคนเสื้อแดง12/04/52 และคลิปหมอลักษณ์ฟันธง
นายกฯทักษิณ
หมอลักษณ์
นายกฯทักษิณ_ หมอลักษณ์.mp3

คลิปมือปืนใส่สูทยิงเสื้อแดง, เสื้อแดงยึดรถถัง 12/04/52
http://www.mediafire.com/download.php?m2myyjmtn5w

นายกฯทักษิณโฟนอินถึงมวลมหาประชาชนคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ 11/04/2552
จากใจนายกฯทักษิณVideoLinkถึงมวลมหาประชาชนคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ 8,9,10เม.ย.52
เพลงRedInTheLand08-04-2552
เพลงRedInTheLand1_08-04-2552
หยาดเพชร .wmv 17mb
เพลงกูกู้คุณหนูจัดให้ (นุช พจมานย์)
คลิปเสียงกระซิบข้างหู "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน".mp3_8mb
ออกอากาศทางสถานีวิทยุวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549
http://sites.google.com/site/northfoodd/dawnhold-khlip4

สกู๊ปพิเศษ ชีวิตต่างแดนบนเครื่องบินของนายกฯทักษิณ พลเมืองกิิตติมศักดิ์นิคารากัว... .wmv
Clip เปิดตัวหนังสือ คนอื่นเรียกนายกฯ แต่เราเรียกพ่อ...4เม.ย.52
ฟังคนเสื้อแดงพูด...ทำไมต้องเข้ามาร่วมชุมนุม .wmv
ดูแล้วน้ำตาซึม...
สัมภาษณ์แม่ครัว...คลังเสบียงคนเสื้อแดง .wmv
Videoเพลง "Red March…สู้ต่อไป...แดงทั้งแผ่นดิน..."

นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ5,6,7เม.ย.52
นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ3เม.ย.52
ThaksinConfirm 03เม.ย.52 .wmv
นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ31มี.ค.52
นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ30มี.ค.52
ตำรวจหัวใจสีแดง29มี.ค.52 และตำรวจหัวใจสีแดง1เม.ย.52
นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ28มี.ค.52
นายกฯทักษิณVideoLinkเวทีคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบ27มี.ค.52
นายกฯทักษิณโฟนอินหน้าทำเนียบรัฐบาล26มี.ค.52
เสื้อแดงเดินจากสนามหลวงไปทำเนียบฯ26มี.ค.52
นายกฯทักษิณโฟนอินที่เชียงใหม่
นายกฯทักษิณโฟนอินที่เชียงราย
http://sites.google.com/site/northfoodd/dawnhold-khlip2

คลิปพระราชดำรัสฯ2548 .wmv
http://www.mediafire.com/download.php?h2ojcq3rnmy

ศึกอภิปรายไม่วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์...
และเอกสารหลักฐานอภิปรายของ เฉลิม (61หน้า)http://sites.google.com/site/northfoodd/dawnhold-khlip2

คลิปนายกฯทักษิณปาฐกถาที่ FCC ฮ่องกง
ช่วงที่1
http://baygon3.no-ip.org/savefiles/HK_FCC_1.wmv
ช่วงที่2
http://baygon3.no-ip.org/savefiles/HK_FCC_2.wmv
แบบเต็มๆรวดเดียวจบ
http://baygon2.no-ip.org/savefiles/2009-03-16SpecialreportThaksinaddress@HK.wmv

นายกฯทักษิณให้สัมภาษณ์ D Station หลังปาฐกถาที่ FCC ฮ่องกง
http://baygon2.no-ip.org/savefiles/DE-TV-Thaksin16-03.wmv

ห้องเรียนประชาธิปไตย ครั้งที่2 สุดมันส์ 16-03-2552
http://sites.google.com/site/northfoodd/dawnhold-khlip2

นายกฯทักษิณโฟนอินที่จันทบุรี15มี.ค.2552
นายกฯทักษิณโฟนอินที่อยุธยา14มี.ค.2552
http://sites.google.com/site/northfoodd/dawnhold-khlip2

ร้อยเพลงที่หาฟังยาก...แก้ไข...
ชุดที่1
http://www.mediafire.com/download.php?yjtqjkz2neo
ชุดที่2
http://www.mediafire.com/download.php?mgizm12yeq2

ทักษิณโฟนอินที่ขอนแก่น 8มีค.52
WMV
http://www.mediafire.com/download.php?jjtnjnzmzvo
MP3
http://www.mediafire.com/download.php?yyzn1aymw0y

Clip ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล…
http://www.prachatouch.com/clip/cover97_virada.wmv

เราพร้อมแล้ว .wmv31.9mb
http://www.mediafire.com/download.php?fz01ymitnmy

TomorrowOri…คนของวันพรุ่งนี้
http://www.mediafire.com/download.php?qvmi2ntmimq

ThailandOri…คนดีของประเทศไทย
http://www.mediafire.com/download.php?2vjmommnjzn

คุกหรือทำเนียบ
http://www.mediafire.com/download.php?gjmzngdzbzn

10น้ำใบบัวบก 11น้ำตะไคร้ 12น้ำขิง





08น้ำแตงโม 09น้ำลูกเกด



05น้ำกระเจี๊ยบ 06น้ำระกำ 07น้ำลูกหว้า



03น้ำมะนาว 04น้ำมะเขือเทศ



วิธีทำน้ำผลไม้ต่างๆ...01น้ำสับปะรด 02น้ำมะขาม






057 ของฝาก...หมาสามตัว


“หมาสามตัว”

ถนนสายหนึ่ง มองไกลสุดกู่ ปลายทางคือความเจริญ สองข้างทางเช่นถนนทั่วไป ต้นไม้ใหญ่ หญ้า ภูเขา หลักกิโลเมตร สุดทางคือสวรรค์

เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ทุกถนนต้องมีหมาสามตัวเดินอยู่

ถนนสายนี้ก็เช่นกัน...

เจ้าหมาตัวเล็ก สกุลดี ด้อย หรือไม่ ไม่สำคัญ แต่มันเดินทางซ้าย กี่วัน กี่เดือน กี่ปี มันก็เดินทางซ้าย

หมาหนุ่มเดินกลางถนน กี่วัน กี่เดือน กี่ปี มันก็เดินกลางถนน

หมาตัวแก่ชรา เดินทางขวาของถนน เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี

เจ้าหมาตัวเล็กหันมามองหมาตัวกลางอย่างชมชอบ ชื่นชม มันไม่ทราบว่า มันจะไปไหน ทำไม อย่างไร เพียงแต่คิดว่า สักวันมันคงได้เดินกลางถนนแบบนี้บ้าง

เจ้าหมาหนุ่มตัวกลาง เดินกลางถนน คิดจะไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ตาไม่เคยเหลือบมอง ไม่ว่าข้างข้าง ข้างหลัง มันไม่เคยแยแสใส่ใจ ตาของมันมีไว้เพื่อมองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด

ส่วนเจ้าหมาตัวแก่ชรา มองดูเจ้าหมาหนุ่มด้วยตาละห้อย สงสาร มันก็เคยผึ่งผงาดกลางถนนมาแล้ว เคยถามตัวเองมาแล้วว่า ทำอะไร เพื่อใคร ทำอย่างไร และทำไม

มันคิดว่าอีกไม่นานหรอก เจ้าหมาหนุ่มกลางถนน คงมาเดินแบบมันบ้าง...

โดย...
“วัฒน์ โยธิน”

056 พ่อแก่ แม่เฒ่า


เอกสารอ้างอิง...

1. ตำนานเมืองเหนือ เล่ม 1, เล่ม 2 พ.ศ. 2505 พิมพ์ที่ สงวนการพิมพ์ จังหวัดเชียงใหม่
2. ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร พิมพ์ที่ ลำพูนการพิมพ์ จังหวัดลำพูน
3. จังหวัดลำพูนปีท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2541-2542 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
4. ตำราทำกับข้าวเมืองเหนือ พ.ศ. 2505 พิมพ์ที่ สงวนการพิมพ์ จังหวัดเชียงใหม่
5. http://www.google.co.th/
6. http://www.thaitambon.com/

“คู่มือทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์” เล่มนี้ ได้เริ่มต้นเขียนร่างต้นฉบับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ด้วยความ “ตั้งใจ” ไว้ว่า จะพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อแจกเป็นอภินันทนาการในวันมงคล “แซยิด” ครบ 5 รอบ 60 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ของตนเอง

ร่างต้นฉบับ “คู่มือทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์” เล่มนี้ เขียนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม “เล่มแรก” แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาแบบกระเป๋าหิ้ว ยี่ห้อ WORDSTAR 999 (RD-49)

ต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม “เล่มที่สอง” แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2543 ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะ ยี่ห้อ BROTHER ML-100

ได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม “เล่มที่สาม” แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ยี่ห้อ LIBERTA/VIVA COM – CELERON 850 - WINDOWS ME

ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 ได้แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมข้อมูลในบางส่วนบางตอน และรูปภาพประกอบเนื้อเรื่อง โดยได้เชื่อมต่อ INTERNET ไปที่ http://www.google.co.th/ และ http://www.thaitambon.com/ เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและรูปภาพประกอบต่าง ๆ จึงขอถือโอกาสนี้ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อท่านเจ้าของข้อมูลและรูปภาพต่าง ๆ ที่กรุณาอนุเคราะห์อนุญาตให้ COPY ได้ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ

จนกระทั่งสำเร็จเป็นแผ่น CD-ROM ต้นฉบับ (CD-ROM FOR COMPUTER) สมบูรณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยตามเทคโนโลยี ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ยี่ห้อ FUJITSU – INTEL PENTIUM 4 2.66 GHz - WINDOWS XP

และเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดทำเป็น WEB ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 จนกระทั่งแล้วเสร็จเป็น WEB OFFLINE เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้ศึกษาเรียนรู้การจัดทำเป็น WEB ONLINE ทาง http://sites.google.com/site/northfoodd/ ที่ท่านกำลังรับชมอยู่ขณะนี้ และ http://northfoodd.blogspot.com/

ท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยตามเทคโนโลยี ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ NOTEBOOK ยี่ห้อ COMPAQ CQ45-107TX - INTEL(R) CORE(TM2) DUO CPU P8400 @ 2.26 GHz - WINDOWS VISTA

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
27 พฤษภาคม 2552

055 แก๋งกระด้าง


เครื่องปรุง “แก๋งกระด้าง”

ขาหมูขาหน้า 1 ขา หูหมู 1 หู พริกแห้ง 7-8 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือ หัวหอม 7 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก เม็ดผักชี 1 ช้อนชา กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด และต้นหอม-ผักชี-ผักชีฝรั่ง

วิธีปรุง “แก๋งกระด้าง”

ขาหมูขาหน้า 1 ขา หูหมู 1 หู ล้างให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ยกตั้งไฟ ต้มเคี่ยวจนสุกและเปื่อยดี แล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ พอดีคำ ใส่ในหม้อเตรียมไว้

เอาพริกแห้ง 7-8 เม็ด หรือพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือก็ได้ (แช่น้ำจนนิ่ม บีบให้แห้ง) หัวหอม 7 หัว กระเทียม 3 หัว ตะไคร้หั่นฝอย 2 ต้น ข่า 5 แว่น รากผักชี 4-5 ราก เม็ดผักชี 1 ช้อนชา กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นนิดหน่อย ใส่ครกตำให้ละเอียดเข้ากันดี

ตักน้ำพริกในครกใส่ลงไปในหม้อต้มขาหมูที่ต้มแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ เตรียมไว้ ยกตั้งไฟ ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำแกงเหลือพอขลุกขลิก ปรุงรสด้วยรสดี เกลือป่น ยกลงเทใส่กะละมังทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแช่ในตู้เย็นประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อจะรับประทาน ตัดแกงกระด้างเป็นชิ้น ๆ โรยด้วยต้นหอม-ผักชี-ผักชีฝรั่งหั่นฝอย ก็เป็นอันเสร็จ รับประทานขณะเย็น ๆ ได้ทันที

054 คั่วมะถั่วมะเขือ


“มะถั่ว” ก็คือ “ถั่วฝักยาว” ส่วน “มะเขือ” ก็คือ “มะเขือยาว” ทั้งชนิดยาวและชนิดกลม

เครื่องปรุง “คั่วมะถั่วมะเขือ”

ถั่วฝักยาว 10 ฝัก มะเขือยาวทั้งชนิดกลมและชนิดยาว 5-6 ลูก เนื้อหมู 2 ขีด พริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง “คั่วมะถั่วมะเขือ”

ถั่วฝักยาว 10 ฝัก เด็ดเป็นท่อนสั้น ๆ มะเขือยาวทั้งชนิดยาวและชนิดกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้

เอาพริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นนิดหน่อย ใส่ครกตำให้ละเอียดเข้ากันดี ตั้งกะทะใส่น้ำมันพืช 2-3 ช้อนโต๊ะตั้งไฟ พอร้อนตักน้ำพริกในครกลงไปผัดกับเนื้อหมูหั่น 2 ขีด ใส่ถั่วฝักยาวและมะเขือที่เตรียมไว้ลงไป เติมน้ำนิดหน่อย ปรุงรสด้วยรสดี น้ำปลา ปิดฝาหม้อเร่งไฟแรง พอน้ำแห้งเหลือพอขลุกขลิก ตักใส่ถ้วยรับประทานได้ทันที

053 ส้ามะเขือแจ้


“มะเขือแจ้” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มะเขือขื่น” มีลักษณะคล้าย ๆ กับ “มะเขือเปราะ” แต่ไม่เหมือนเลยทีเดียว “มะเขือแจ้” ที่นำมารับประทาน ส่วนมากจะเลือกเอาผลแก่เปลือกหนาสีเหลืองเข้ม เพราะจะ “ขื่น” เต็มที่

เครื่องปรุง “ส้ามะเขือแจ้”

มะเขือแจ้หรือมะเขือขื่น 6-7 ลูก พริกแห้ง 4-5 เม็ดหรือพริกขี้หนูแห้ง หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ ปลาย่างแห้ง 1 ตัว และต้นหอม-ผักชี

วิธีปรุง “ส้ามะเขือแจ้”

เอามะเขือแจ้หรือมะเขือขื่น 6-7 ลูก หั่นเป็นแว่นบาง ๆ เตรียมถ้วยไว้

พริกแห้ง 4-5 เม็ด หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว เผาไฟจนสุก ลอกเปลือกดำ ๆ ทิ้ง กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะห่อใบตองปิ้งไฟจนสุก เกลือป่นนิดหน่อย เอาทั้งหมดใส่ครกตำให้ละเอียด ปลาย่างแห้ง 1 ตัว ย่างไฟจนเหลืองหอม แกะเอาแต่เนื้อปลาใส่ครกตำให้เข้ากัน

ตักน้ำพริกในครกลงคลุกเคล้ากับมะเขือแจ้ที่หั่นเตรียมไว้ ปรุงรสด้วยรสดี น้ำปลา โรยหน้าด้วยต้นหอม-ผักชีหั่นฝอย เพียงเท่านี้ก็อร่อยจนลืมอิ่มแล้วครับ

052 ส้าแตงกวา


คำว่า “ส้า” หมายถึง “ยำ” ฉะนั้น “ส้าแตงกวา” ก็หมายถึง “ยำแตงกวา” นั่นเอง

เครื่องปรุง “ส้าแตงกวา”

แตงกวาลูกใหญ่ 2-3 ลูก พริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่ และแคบหมู

วิธีปรุง “ส้าแตงกวา”

แตงกวาลูกใหญ่ 2-3 ลูก ปอกเปลือกแล้วใช้ช้อนส้อมขูดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ใส่ถ้วยเตรียมไว้

เอาพริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 3 หัว กระเทียม 1 หัว เผาไฟจนสุก ลอกเปลือกดำ ๆ ทิ้ง กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะห่อใบตองปิ้งไฟจนสุก และเกลือป่นนิดหน่อย เอาทั้งหมดใส่ครกตำให้ละเอียด

ตักน้ำพริกในครกลงไปคลุกเคล้ากับแตงกวาที่เตรียมไว้ ปรุงรสด้วยรสดี น้ำปลา โรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ รับประทานแกล้มกับ “แคบหมู” กรุบ ๆ กรอบ ๆ อร่อย

051 เจียวผักปั๋ง


“เจียว” ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงกรรมวิธีการ “เจียวไข่” แบบทั่ว ๆ ไป ซึ่งชาวภาคเหนือเรียก “เจียวไข่” ว่า “ทอดไข่” หรือ “คั่วไข่” แต่ “เจียว” ในที่นี้หมายความถึงการต้มแกงอาหารอย่างหนึ่งซึ่งคล้าย ๆ กับแกงจืด จะต้องเอาน้ำใส่หม้อแกงตั้งไฟให้เดือดก่อน แล้วจึงใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ ลงไป

“ผักปั๋ง” หรือ “ผักปลัง” เป็นไม้เลื้อยที่มีเถายาวหลายเมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก ใบเป็นมันเกลี้ยง เมื่อขยี้จะเป็นเมือกเหนียว “ผักปั๋งขาว” ลำต้นสีเขียว ส่วน “ผักปั๋งแดง” ลำต้นสีม่วงแดง ซึ่งผักปั๋งทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นที่นิยมนำมารับประทาน

“ต้น ใบ ดอก ราก และ ผล” ของผักปั๋งใช้เป็นยาได้ “ต้น” แก้ขัดเบา แก้ท้องผูก ลดไข้ “ ใบ” แก้อักเสบ กลาก ผื่นคัน ฝี และขับปัสสาวะ “ดอก” แก้เกลื้อน “ราก” แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้พิษพรรดึก “ผล” สีม่วงใช้แต่งสีอาหารได้

เครื่องปรุง “เจียวผักปั๋ง”

ผักปั๋งหรือผักปลัง หรือผักตำลึงก็ได้ตามใจชอบ 1 ถ้วยใหญ่ พริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 5 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ แหนม 1 ห่อ และมะนาว 1-2 ลูก

วิธีปรุง “เจียวผักปั๋ง”

ผักปั๋งหรือผักปลัง หรือผักตำลึงก็ได้ เด็ดเอาแต่ยอดอ่อน ๆ ล้างน้ำให้สะอาด เตรียมไว้

พริกหนุ่ม 4-5 เม็ด หัวหอม 5 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ครกตำให้ละเอียด
เอาหม้อแกงใส่น้ำพอสมควรยกตั้งไฟจนเดือด ตักน้ำพริกในครกลงไปละลาย พอเดือดบี้แหนม 1 ห่อลงไป สักครู่จึงใส่ผักที่เด็ดเตรียมไว้ลงไป คนให้ทั่ว ปรุงรสด้วยรสดี เกลือป่น ก่อนยกลงจากเตา บีบมะนาวใส่ลงไปให้น้ำแกงออกรสเปรี้ยวนิด ๆ รับประทานร้อน ๆ เรียกเหงื่อได้ดี

050 แก๋งถั่วใส่ผักหละ


คนล้านนาในอดีต มีความเป็นอยู่เรียบง่าย อาหารการกินก็เช่นกัน วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารนั้นมักจะเป็นพืชผักสวนครัว หรือผักที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หน่อไม้ ยอดมะม่วง มะรุม เป็นต้น

อาหารพื้นบ้านล้านนาไม่นิยมใส่กะทิและเยิ้มน้ำมัน และไม่เน้นเครื่องเทศอะไรมากนัก แต่จะใช้เครื่องปรุงง่าย ๆ และน้อยชนิด รสชาติมักจะเค็ม และใช้อาหารที่มีความหวานตามธรรมชาติมากินแนมหรือกับแกล้ม เช่น ผักนึ่ง ผักลวก แตงกวา เป็นต้น คนล้านนามักจะรับประทานอาหารเมื่ออุณหภูมิของอาหารที่จะรับประทานเย็นลง ไม่นิยมรับประทานขณะที่อาหารร้อน ๆ

เครื่องปรุง “แก๋งถั่วใส่ผักหละ”

ถั่วฝักยาว ผักหละหรือชะอม รวมกัน 1 ถ้วยใหญ่ ปลาย่างแห้ง 1 ตัว พริกหนุ่ม 10 เม็ด หัวหอม 5 หัว กระเทียม 2 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ และข่า 5 แว่น
วิธีปรุง “แก๋งถั่วใส่ผักหละ”

ถัวฝักยาวเด็ดเป็นท่อนสั้น ๆ ผักหละหรือชะอมเลือกเอาแต่ยอดอ่อน ๆ เตรียมไว้ เอาพริกหนุ่ม 10 เม็ด หัวหอม 5 หัว กระเทียม 2 หัว กะปิดี 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นนิดหน่อย ใส่ครกตำให้ละเอียดเข้ากันดี

เอาหม้อแกงใส่น้ำพอสมควร ใส่ข่า 5 แว่นลงไปด้วย ต้มจนเดือดพล่าน ใส่ปลาย่างแห้งที่แกะเอาแต่เนื้อปลาลงไป ต้มเคี่ยวต่อไปสักครู่ ตักน้ำพริกในครกลงไปละลาย พอเดือดอีกครั้ง ใส่ถั่วฝักยาวและผักหละหรือชะอมลงไป คนให้ทั่ว ปรุงรสด้วยรสดี เกลือป่น ปิดฝาหม้อ พอเดือดอีกครั้งก็ยกลงจากเตา รีบเปิดฝาหม้อทันที ผักที่ใส่ลงไปจะเขียวสดน่ารับประทาน